วัยอายุ 50 ปีขึ้นไปกับการมองเห็นผิดปกติ เห็นภาพไม่ชัด บิดเบี้ยว สีผิดเพี้ยน อาจเสี่ยงเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม

Last updated: 24 พ.ย. 2566  |  315 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วัยอายุ 50 ปีขึ้นไปกับการมองเห็นผิดปกติ  เห็นภาพไม่ชัด บิดเบี้ยว  สีผิดเพี้ยน อาจเสี่ยงเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม

จอประสาทตาเสื่อม คือโรคที่เกิดจากบริเวณบางส่วนของจอประสาทตาในลูกตาเสื่อมสภาพ ทำให้มีการมองเห็นผิดปกติ  เห็นภาพไม่ชัด บิดเบี้ยว  สีผิดเพี้ยน  หรือเกิดเงาดำบดบังภาพที่มองเห็น  เงาดำดังกล่าวมักเกิดตรงกลางภาพ โดยอาจเกิดเพียงจุดเดียวหรือมากกว่าหนึ่งจุดก็ได้  ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของรอยโรคที่จอประสาทตา  โรคจอประสาทตาเสื่อมนี้ทำให้การมองเห็นแย่ลงเรื่อยๆ เมื่อถึงจุดหนึ่งจะทำให้สูญเสียการมองเห็นส่วนใหญ่ได้ โรคนี้มักเกิดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และเป็นสาเหตุสำคัญที่พบบ่อยของอาการตาบอดในผู้สูงอายุ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคนี้ แต่พบว่าพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมาก 

โรคจอประสาทตาเสื่อมแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.ชนิดแห้ง(Dry AMD)

ซึ่งพบเป็นส่วนใหญ่และมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไปตามอายุ


2.ชนิดเปียก(Wet AMD)

ซึ่งพบน้อยแต่มีการดำเนินโรคเร็วกว่า และมักพบการบวมของจอประสาทตาโดยอาจพบเลือดออกร่วมด้วย 



ปัจจุบันนี้ ยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาด แต่สามารถหยุดหรือชะลออาการให้ช้าลงด้วยวิธีการรักษาบางอย่าง เช่น การใช้แสงเลเซอร์ เป็นต้น  สำหรับการป้องกันโรคนี้ทำได้โดยหมั่นตรวจสุขภาพตาเป็นระยะ

โดยเฉพาะผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้  หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่  การทานผักและผลไม้เป็นประจำเพื่อให้ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระที่หลากหลายเพียงพอ  และอาจเลือกเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดที่มีข้อมูลการศึกษาว่าอาจช่วยชะลอการเกิดโรคนี้ได้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้