Last updated: 29 มิ.ย. 2566 | 515 จำนวนผู้เข้าชม |
แคลเซี่ยม ประโยชน์ที่มากกว่าเรื่องกระดูกและฟัน
เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่ากระดูกและฟันที่แข็งแรงเกิดจากร่างกายได้รับแคลเซี่ยมอย่างเพียงพอ แคลเซี่ยม 99% ในร่างกายสะสมอยู่ที่บริเวณกระดูกและฟัน อีก 1% ที่เหลือจำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทกล้ามเนื้อ การเต้นของกล้ามเนื้อหัวใจ การแบ่งเซลล์ การเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน การแข็งตัวของเลือด เป็นต้น มากกว่านั้นกระดูกยังมีบทบาทสำคัญอีกประการ คือ เป็นแหล่งสำรองแคล เซี่ยมและแร่ธาตุบางชนิดเวลาที่ร่างกายขาดแคลน
การได้รับแคลเซี่ยมเพียงพอสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำตั้งแต่อายุน้อย เพื่อห่างไกลจากโรคกระดูกพรุนเมื่อเข้าสู่ช่วงสูงวัยของชีวิต
กระดูกพรุน ภัยเงียบใกล้ๆ เป็นแต่ไม่รู้
กระดูกเป็นเนื้อเยื่อมีชีวิต สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างตัวเองไปตามภาวะการเผาผลาญของร่างกาย(Metabolism) และแรงกลที่กระทำต่อกระดูก(Mechanical) มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้ความแข็งแรงและความหนาแน่นของกระดูกลดลง เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมนในร่างกาย รูปแบบการดำเนินชีวิต การขาดการออกกำลังกาย อาหารบางชนิด การได้รับแคลเซี่ยมและโปรตีนไม่เพียงพอ
องค์การอนามัยโลก(WHO) รายงานว่าโรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขอันดับ 2 ของโลก รองจากโรคหัวใจและหลอดเลือด โดย 1 ใน 3 ของผู้หญิงและ 1 ใน 5 ของผู้ชายที่อายุเกินกว่า 60 ปีมีภาวะกระดูกพรุน ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองเป็น จากสถิติทั่วโลกผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนอายุ 60-90 ปี พบภาวะกระดูกพรุน 10-60% และพบกระดูกหักจากกระดูกพรุน โดยตำแหน่งกระดูกที่หักที่พบบ่อยที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กระดูกแขน 80% รองลงมาคือกระดูกสะโพก 70% และกระดูกสันหลัง 58% ตามลำดับ ทั้งนี้สาเหตุสำคัญเกิดจากการขาดแคลเซี่ยม จากสถิติคนไทยได้รับแคลเซี่ยมเฉลี่ยเพียง 361 มิลลิกรัมต่อวัน น้อยกว่าปริมาณที่ควรได้รับสำหรับผู้ใหญ่ คือ 700-1,200 มิลลิกรัมต่อวัน โรคกระดูกพรุนจึงถือเป็นภัยเงียบของคนไทย โดยมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคกระดูกพรุนสูงเฉลี่ย 300,000 บาทต่อคน
แคลเซี่ยมอย่างเดียว ไม่เพียงพอสำหรับกระดูกแข็งแรง
เนื้อเยื่อกระดูกของเรา หากแบ่งตามประเภทของสารองค์ประกอบแล้ว 60% ของน้ำหนักเกิดจากแร่ธาตุอนินทรีย์(Inorganic)หลายชนิดโดยมีผลึกแคลเซียมเป็นแร่ธาตุหลัก อีกราว 30% ที่เหลือโดยน้ำหนักมีสารอินทรีย์(Organic)เป็นส่วนประกอบ โดย 90% ของสารอินทรีย์นี้ คือ โปรตีนคอลลาเจน และ 10% ที่เหลือคือน้ำ ด้วยเหตุนี้ แคลเซียมอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอที่จะทำให้กระดูกของเราแข็งแรง
ในความเป็นจริง แคลเซียมต้องทำงานร่วมกับแร่ธาตุและวิตามินอีกหลายชนิด เพื่อสร้างกระดูกที่แข็งแรงที่สุดให้กับเรา ได้แก่ วิตามินซี, วิตามินดี, วิตามินเค, แมกนีเซียม ที่สำคัญ คือ โปรตีนคอลลาเจนที่เป็นส่วนแกนกลางของกระดูกตลอดระยะการเจริญเติบโต
แคลเซี่ยม ชื่อที่เหมือน คุณสมบัติที่ต่าง
ผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซี่ยมมีหลายสูตรหลากคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ควรเลือกผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซี่ยมที่มีรูปแบบเกลือแคลเซียมที่ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ดีที่สุด ในขณะที่ผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหารต่ำ และตกค้างในร่างกายน้อยที่สุด
ปัจจุบันมีแคลเซียมนวัตกรรมใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้น คือ แคลเซี่ยมแอลทรีโอเนต(Calcium L-Threonate) สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เกือบ 100% ดูดซึมดีกว่าแคลเซียมรูปแบบเก่าถึง 9 เท่า และไม่ต้องอาศัยวิตามินดีช่วยดูดซึม ร่างกายจึงได้รับปริมาณแคลเซี่ยมเต็มที่ นอกจากนั้นแคลเซี่ยมแอลทรีโอเนตมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดีมาก จึงลดโอกาสเกิดแคลเซี่ยมตกค้างตามอวัยวะต่างๆในร่างกาย เช่น ไต ทางเดินปัสสาวะ หลอดเลือด และไม่ทำให้เกิดอาการไม่สบายท้อง ท้องผูก หรือท้องเสียเช่นเดียวกับแคลเซี่ยมสูตรดั้งเดิม
คุณสมบัติเด่นอีกประการของแคลเซี่ยมแอลทรีโอเนต คือ การแตกตัวให้กรดแอลทรีโอนิค(L-Threonic Acid)ปริมาณสูงเช่นเดียวกับที่ได้รับจากการทานวิตามินซีซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการกระตุ้นการสร้างส่วนแกนคอลลาเจนของกระดูก(Bone)และกระดูกอ่อน(Cartilage)ในทุกระยะการเจริญของกระดูก ช่วยให้กระดูกและข้อของคุณแข็งแรงสูงสุด ตั้งแต่ระยะกระดูกเริ่มยืดตัวพร้อมสะสมความแข็งแรงตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น จนถึงวัยสูงอายุ
ใครบ้างที่เหมาะกับแคลเซี่ยมแอลทรีโอเนต
• วัยรุ่น อายุตั้งแต่ 12-18 ปี ที่ต้องการเพิ่มความสูงด้วยแคลเซี่ยม
• ผู้ใหญ่ อายุ 18-40 ปี ที่ต้องการสะสมความแข็งแรงของมวลกระดูก
• ผู้ที่อายุ 40-60 ปี ช่วงวัยที่กระดูกเริ่มสลายตัว เกิดภาวะกระดูกบาง
• ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ช่วงวัยที่เริ่มมีภาวะกระดูกพรุน
• ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเสื่อม เช่น ข้อเข่า
• ผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
• ผู้ที่ได้รับแคลเซี่ยมจากอาหารธรรมชาติไม่เพียงพอ
• ผู้ที่ได้รับผลข้างเคียงจากการทานแคลเซี่ยมสูตรดั้งเดิม
• ผู้ที่มีภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุนแล้ว
• ผู้ที่มีกรรมพันธุ์โรคกระดูกพรุน
• ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อกระดูกพรุน เช่น ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เป็นประจำ ร่างกายมีภาวะอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น
ทานแคลเซี่ยมแอลทรีโอเนตอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด
เพื่อให้ได้ปริมาณแคลเซี่ยมดูดซึมเต็มประสิทธิภาพ ควรรับประทานแคลเซี่ยมแอลทรีโอเนตพร้อมอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง อย่างไรก็ดีสามารถรับประทานแคลเซี่ยมแอลทรีโอเนตขณะท้องว่างได้หากไม่สามารถรับประทานพร้อมอาหาร
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแคลเซี่ยมนวัตกรรมใหม่และปลอดภัยจากผลข้างเคียง สอบถามเพิ่มเติมที่ :
Line official : @VITAMATECLUB