รู้หรือไม่ รังสี UV อันตรายต่อทุกส่วนของดวงตา

Last updated: 17 พ.ย. 2566  |  272 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รู้หรือไม่ รังสี UV อันตรายต่อทุกส่วนของดวงตา

รังสีอัลตร้าไวโอเลต(UV)เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า  มีความยาวคลื่นในช่วงต่ำกว่า 400 นาโนเมตรลงไป  ในขณะที่แสงสีอื่นที่เรามองเห็นได้ด้วยตาเปล่านั้นมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400 – 700 นาโนเมตร รังสีอัลตร้าไวโอเลตยังแบ่งออกเป็น UVA, UVB, หรือ UVC ตามความยาวคลื่น 

โดยทั่วไปแล้วรังสีอัลตร้าไวโอเลตเป็นอันตรายต่อทุกส่วนของดวงตาของเรา ตั้งแต่ผิวหนังรอบดวงตา  กระจกตา  เลนส์ตา  น้ำวุ้นลูกตา ไปจนถึงจอประสาทที่อยู่ด้านในสุด  เนื่องจากเป็นรังสีที่มีพลังงานสูง สามารถกระตุ้นและก่อให้เกิดอนุมูลอิสระที่ทำลายหรือสร้างความเสียหายต่อเนื้อเยื่อส่วนต่างๆที่กล่าวมาแล้ว  เกิดความผิดปกติต่อดวงตาของเราได้หลายประการ เช่น      

1.ต้อกระจก: การได้รับรังสี UV เป็นเวลานานเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดต้อกระจก ซึ่งทำให้เลนส์ตาตามธรรมชาติบดบัง และอาจทำให้การมองเห็นบกพร่องหรือตาบอดได้

2.ต้อลมและต้อเนื้อ: ต้อลมเป็นภาวะเสื่อมของเยื่อบุตาขาว ทำให้เกิดเป็นแผ่นหรือตุ่มนูนสีเหลืองตรงบริเวณตาขาว  ส่วนต้อเนื้อนั้นจัดเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงที่เกิดบนเยื่อบุตาขาวเช่นกัน  ทั้งสองชนิดหากเป็นมากขึ้นสามารถส่งผลกระทบต่อการมองเห็นได้ โดยเฉพาะการลุกลามของต้อเนื้อเข้าไปในบริเวณของตาดำ  พบว่ารังสี UV เป็นปัจจัยกระตุ้นโดยตรงให้เกิดต้อลมและต้อเนื้อ 

3.จอประสาทตาเสื่อม : เป็นภาวะที่จอประสาทตาที่อยู่ส่วนในสุดของลูกตาเกิดความเสื่อมตามวัย  สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเกี่ยวข้องกับรังสี UV เนื่องจากรังสีดังกล่าวมีพลังงานสูง  สามารถทะลุทะลวงและสร้างความเสียหายไปถึงเซลล์จอประสาทตา  สารลูทีนรวมทั้งซีแซนธินซึ่งมีอยู่บริเวณจอประสาทตาตามธรรมชาติของเราทำหน้าที่ช่วยกรองและปกป้องอันตรายจากรังสี UV  อย่างไรก็ดีหากได้รับรังสีดังกล่าวมากเกินไปก็จะก่อให้เกิดความเสียหายทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้เช่นกัน 

4.มะเร็งผิวหนังรอบดวงตา: เป็นที่รู้กันว่ารังสียูวีอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้  โดยไม่จำกัดว่าเป็นผิวส่วนใด  รวมถึงบริเวณเปลือกตาและผิวหนังรอบดวงตา  เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงโรคดังกล่าวจึงควรหลีกเลี่ยงการอยู่ท่ามกลางแสงแดดจ้าเป็นเวลานานเกินไป  หากจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้งในช่วงเวลาแดดแรง  ควรสวมแว่นกันแดดที่สามารถกรองรังสียูวี และสวมหมวกปีกกว้าง  จะช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งดังกล่าวได้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้